ทัวร์สตูล

Satun

SATUN สตูล

ตราประจำจังหวัดสตูล

สตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูเกอดะฮ์ ว่า เซอตุล (ستول) (ภาษามาเลย์ว่า เซอตุล (setul)) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (มลายู: Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น “ตราพระสมุทรเทวา” จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม

ทัวร์
รถ
เรือ
Clear
Clear
Clear

คุณได้ชมรายการทัวร์ครบแล้ว

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ในจำนวนนี้มีประชากรร้อยละ 9.9 อ้างว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากชาวมลายู โดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในสตูลมีความแตกต่างจากชาวไทยเชื้อสายมลายูในแถบปัตตานี แต่จะมีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับชาวมลายูในรัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี) และได้รับการผสมผสานกับอิทธิพลของวัฒนธรรมไทย ชาวสตูลที่มีเชื้อสายมลายูแต่เดิมใช้ภาษามลายูเกอดะฮ์ ในการสื่อสาร แต่ในช่วงระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งร้อยปีชาวสตูลก็ลืมภาษามลายูถิ่นของตน เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีไม่มีใครพูดภาษามลายูถิ่นได้เช่นเดียวกับเยาวชนในตัวเมืองปัตตานีและยะลา แต่ยังเหลือประชาชนที่ยังใช้ภาษามลายูถิ่นได้ 13 หมู่บ้านใน 3 ตำบล คือ ตำบลเจ๊ะบิลัง ตำบลตำมะลัง และตำบลบ้านควนเท่านั้นที่ยังใช้ในการอ่านคุตบะห์บรรยายธรรมในมัสยิด นอกนั้นในชีวิตประจำวันชาวสตูลนิยมพูดภาษาไทยมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสที่ร้อยละ 80 ยังใช้ภาษามลายูได้ มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นกลุ่มสังคมเมืองซึ่งพูดมลายูได้เล็กน้อยหรือพูดปนภาษาไทย

อย่างไรก็ตามอิทธิพลทางด้านภาษามลายูถิ่นในจังหวัดสตูลนั้นยังมีให้เห็นทั่วไป เช่น เกาะตะรุเตา (มาจากคำว่า ตะโละเตา แปลว่า อ่าวเก่าแก่), อ่าวพันเตมะละกา (แปลว่า ชายหาดที่มีชาวมะละกา), อุทยานแห่งชาติทะเลบัน (มาจากคำว่า ลาอุตเรอบัน แปลว่า ทะเลยุบ) เป็นต้นแต่หลายพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อให้เป็นภาษาไทยไป เช่น อำเภอสุไหงอุเป (มีความหมายว่า คลองกาบหมาก) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอทุ่งหว้า, บ้านปาดังกะจิ เปลี่ยนเป็น บ้านทุ่งนุ้ย, บ้านสุไหงกอแระ เปลี่ยนเป็น บ้านคลองขุด เป็นอาทิ

ในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดสตูลได้มีการนำหลักสูตรสอนภาษามลายูกลางใน 7 โรงเรียนคือ โรงเรียนบ้านควน โรงเรียนบ้านเจ๊ะบิลัง โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง โรงเรียนบ้านแป-ระเหนือ โรงเรียนบ้านสนกลาง โรงเรียนบ้านปากบารา และโรงเรียนบ้านปากละงู ซึ่งในโรงเรียนบ้านควนมีผลการจัดการสอนที่น่าพึงใจ นักเรียนสามารถใช้ภาษามลายูกลางกับนักเรียนแลกเปลี่ยนชาวมาเลเซียได้ และนำไปสู่การประเมินผล และขยายไปยังโรงเรียนอื่น ๆ

จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว

ที่ได้รับความนิยมในปี 2024/2567
We are using cookies to give you the best experience. You can find out more about which cookies we are using or switch them off in privacy settings.
AcceptPrivacy Settings

GDPR

  • เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ โดยคลิก “การตั้งค่าคุกกี้” อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว

จองเลย